วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคำว่า "ภาษา"


ความหมายของคำว่า “ภาษา”
ความหมายที่๑
ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรมเสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ"
วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่ต่างๆ เรียกว่า "ภาษาศาสตร์" เริ่มบุกเบิกโดยแฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) บุคคลที่พูดภาษาใดก็ตาม ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเชิงภาษาศาสตร์ของภาษานั้น ๆ
          ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2
ความหมายที่๒
ความหมายของภาษา
บันลือ  พฤกษะวัน(2522, หน้า 5) ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า คือเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายที่สำคัญที่สุดของมนุษย์” เมย์ (MAY,  อ้างถึง  บันลือ  พฤกษะวัน ,2533, หน้า5)ได้กล่าวถึงภาษาว่า  การที่มนุษย์ใช้ภาษาสื่อความหมายกันได้  ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่ามนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์  นอกจากนี้  ศุภวัตน์  ชื่นชอบ  ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า  ภาษาคือเครื่องมือการสื่อสาร (2524, หน้า1)และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2530, หน้า203)ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ดังนี้ ภาษา  หมายถึง  เสียงหรือกริยาอาการที่เป็นสื่อเข้าใจความหมายรู้กันได้,คำพูด,ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน โดยสรุปแล้วภาษาก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันและกันให้เข้าใจนั่นเอง


นางสาวดวงรัตน์  สวัสดิพงษ์
รหัสนักศึกษา 56115550122
สาขาวิชาภาษาไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น